ข่าวการเสียชีวิตของสุภาพสตรีชาวออสเตรเลียด้วยภาวะโรคชนิดหนึ่ง
ที่เรียกว่า โรคอีโคโนมี คลาสซินโตรม (Economy class syndrome)
ทำให้สายการบินทั่วโลกต่างตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร
โรคอีโคโนมีคลาสซินโดรมนี้ พบในผู้โดยสารที่เดินทางใช้ระยะเวลาบินครั้งละนานเกิน 3 ชั่วโมงขึ้นไป
โรคหลอดเลือดดำอุดตันหรือ Deep Venous Thrombosis (DVT) ซึ่ง นอกจากจะเกิดกับผู้โดยสารชั้นประหยัดแล้ว
ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจหรือแม้แต่นักบินก็เสี่ยงเป็นโรคนี้เช่นกัน เพียงแต่ไม่มากเท่า
กลุ่มอาชีพเสี่ยง ได้แก่ พนักงานขับรถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกส่งของเดินทางระหว่างจังหวัด
หรือผู้ที่นั่งโต๊ะทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น ผู้เข้าชมภาพยนตร์เรื่องยาวๆ
เลือดจับตัวเป็นลิ่ม หรือชิ้นเล็กๆ
อาการ จะปวดบวมแดงบริเวณน่องหรือข้อเท้า
อาการของโรคดีวีทีเกิดจากการที่เลือดจับตัวเป็นลิ่ม หรือชิ้นเล็กๆ แล้วไหลเข้าไปตามกระแสเลือด
อาจไปอุดตันตามอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ฯลฯ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
วิธีป้องกัน
1. กินยาแอสไพรินวันละ ½ เม็ด ก่อนเดินทาง 2 วัน และอีก ½ เม็ด เมื่ออยู่บนเครื่อง
2. เลือกที่นั่งใกล้ทางเดิน อย่านั่งด้านใน เพราะนั่งใกล้ทางเดินจะมีที่ว่างให้เหยียดแขน ขา แก้อาการเมื่อยขบ
3. อย่านั่งไขว้ขา เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ลุกเดินบ้าง
4. หมั่นบริหารขาทั้ง 2 ข้าง ยกขึ้นสูงเท่าที่จะยกได้ เหยียดนิ้วเท้ากางออก เหยียดนิ้วเท้าชี้ลงพื้น
5. สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ
6. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ
อีกภาวะหนึ่งที่อาจเกิดร่วมด้วยคือ Travelers Stroke
พบว่า ร้อยละ 6 ของผู้ป่วยที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดที่ปอด อาจหลุดไปถึงหลอดเลือดแดงในสมองด้วย
โดยผ่านทางช่องเปิดที่ผนังกั้นห้องหัวใจ (persistent foramen ovale หรือ PFO)
ซึ่งโดยทั่วไปผนังนี้จะปิดตั้งแต่วัยทารกแรกเกิด แต่ร้อยละ 17-27 ของคนทั่วไปกลับไม่ปิด
ทำให้ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำเล็ดลอดไปห้องหัวใจด้านซ้าย โดยไม่ผ่านปอด
และหลุดไปอุดหลอดเลือดแดงในสมอง
ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ได้ เช่น มีอาการใบหน้าเบี้ยว พูดลิ้นแข็งหรือเสียภาษาพูด แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เป็นต้น
เลือดจับตัวเป็นลิ่ม หรือชิ้นเล็กๆ หลุดไปถึงหลอดเลือดแดงในสมอง
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคนี้ มีหลายประการ ตั้งแต่ภาวะอ้วน การแข็งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ
เพิ่งผ่าตัดใหญ่ หรือผ่าตัดกระดูกชิ้นยาวๆ ภายใน 2 สัปดาห์ มีประวัติเป็นลิ่มเลือดดำอุดตันมาก่อน
การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำไม่ดี มีประวัติเป็นเนื้องอกภายใน 2 ปี กินยาคุมกำเนิด
มีภาวะบางอย่างที่จำกัดการเคลื่อนไหว รวมถึงวัยก็มีส่วนคือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน
โรคนี้ป้องกันได้ ถ้าปฏิบัติดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ขา หรือการนั่งงอสะโพกและเข่าเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ
2. ออกกำลังกายบริหารขาทั้งสองข้าง ลุกยืนและเดินบ่อยๆ
3. ดื่มน้ำให้มาก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
4. หลีกเลี่ยงการกินยานอนหลับ
5. ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสูง
แพทย์อาจพิจารณาให้ยา เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันไว้ก่อนเดินทาง
นอกจากนั้นมีการศึกษาในผู้ที่แข็งแรงดี พบว่า
การใช้ถุงเท้าที่ใช้พันรอบขา สามารถลดโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
โดยถุงเท้าจะออกแรงบีบกล้ามเนื้อขา เพื่อช่วยไล่เลือดจากขากลับไปยังหัวใจ
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=06-2010&date=26&group=2&gblog=370
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น